พิมพ์
1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 Rating 5.00 (2 Votes)

ให้เรตสมาชิก: 5 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน
 

ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 หน่วยกิจกรรมการเรียนรู้ รู้จักและเข้าใจตนเอง โดยใช้ชุดกิจกรรม
         การเรียนรู้
  ตามแนวจิตตปัญญาศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่

ผู้วิจัย นางพิมพ์ฤดี ประเสริฐสังข์ รงเรียนประสาทวิทยาคาร อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ปีที่พิมพ์ 2558

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21หน่วยกิจกรรมการเรียนรู้ รู้จักและเข้าใจตนเอง โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต 3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนทักษะชีวิตของนักเรียน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมแนะแนว 4) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตนเองและการเกิดจิตสำนึกต่อส่วนรวมของนักเรียน วิธีดำเนินการวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นครูผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม 1 คน นักเรียน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษา จำนวน 6 แผน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษา จำนวน 6 ชุด แบบสังเกตพฤติกรรมการสอน แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน แบบบันทึกการสัมภาษณ์นักเรียน แบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน (อนุทิน) และแบบวัดทักษะชีวิต 40 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือt-test (Dependent Samples) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการพรรณาวิเคราะห์

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

        1. การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษา มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 89.84/89.56 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

        2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมแนะแนวดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว จิตตปัญญาศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.5769 คิดเป็นร้อยละ 57.69

        3. คะแนนทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศกษาปที่ 4 หลังเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

        4. ผลการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตนเองและการเกิดจิตสำนึกต่อส่วนรวมของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความรู้จากการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ สามารถนำความรู้มาปฏิบัติและปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและต้องการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่นได้ปฏิบัติตามเกิดความรู้สึกที่ดีต้องการข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคมเพื่อช่วยให้ผู้อื่นและสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นสู่การพัฒนาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสมดุล และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข